ผมบางเกิดจากอะไร

ผมบางเกิดจาก

ผมบาง รักษาอย่างไร? คงเป็นคำถามที่เหล่าคนบางเอ่ยกันขึ้นมาเยอะเมื่อเกิดปัญหานี้ เพราะผมบางเป็นปัญหาที่น่ากังวลใจของใครหลายคน บางคนผมบางกลางหัว บางคนผมข้างหน้าบาง ทำให้ขาดความมั่นใจ เกิดความเครียด ยิ่งเครียดผมก็ยิ่งบาง แต่ที่จริงแล้วมีวิธีแก้ไขปัญหาผมบางให้กลับมาหนาได้ ถ้าหากเราใช้วิธีดูแลเส้นผมอย่างถูกต้อง และได้รับการรักษาผมบางอย่างตรงจุดกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทำให้ผมบางกลับมาหนา หมดความกังวลเพิ่มความมั่นใจ ให้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข 

วันนี้ Dr.Tarinee Clinic ขอพาทุกท่านมารู้จักสาระดีๆ เกี่ยวกับผมบาง ทั้งสาเหตุของผมบาง พฤติกรรมเสี่ยง และวิธีการรักษาผมบาง และอื่นๆ อีกมากมาย ที่ขอบอกว่าท่านใดที่กำลังเจอกับปัญหาผมบางต้องห้ามพลาด!

อาการผมบางเกิดจากอะไร? ปกติแล้วคนเราจะมีผมร่วงต่อวันไม่เกิน 100 เส้น แต่ถ้าหากมีผมร่วงเยอะเกินกว่านี้ก็จะทำให้ผมบางลง ซึ่งปัญหาเช่นนี้เป็นปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้ตามอายุที่มากขึ้น แต่ในบางกรณีก็เกิดกับคนที่มีอายุน้อยที่เกิดความเครียดทำให้ผมเริ่มบางก่อนวัยอันควร ผมบางสามารถเป็นได้กับทุกเพศไม่ว่าจะผู้ชายหรือผู้หญิง แต่ก็จะมีสาเหตุที่แตกต่างกันไป ซึ่งอาจจะเกิดจากความผิดปกติของร่างกาย หรือพฤติกรรมที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าทำแบบนี้ผมจะร่วงจนบางได้

ผมบางมีสาเหตุมาจากอะไร

ผมร่วงจนบาง
สาเหตุผมบาง

ก่อนที่จะไปดูวิธีการรักษา ต้องรู้ก่อนว่าผมบางมีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง หลายคนที่ผมบางหาวิธีแก้ผมบางอย่างไรก็ไม่หาย ซึ่งอาจเป็นเพราะยังไม่รู้ว่าสาเหตุที่ทำให้ผมบางลง จึงทำให้รักษาไม่ถูกจุด สาเหตุของปัญหาผมบางที่เกิดขึ้นในแต่ละคน มาจากหลายสาเหตุที่แตกต่างกันออกไป ดังต่อไปนี้

1.ผมบางกรรมพันธุ์

สาเหตุแรกของหลายคนที่มีผมบางนั้นมาจากกรรมพันธุ์ในครอบครัว ลักษณะผมบางถือเป็นอีกหนึ่งอย่างที่สามารถส่งต่อทางพันธุกรรมกันได้ หากใครที่เกิดในครอบครัวที่มีลักษณะผมบางก็จะได้พันธุกรรมนี้ส่งต่อกันมาในครอบครัว

2.ผมบางจากฮอร์โมน

โดยผมบางมีสาเหตุมาจากฮอร์โมนไดไฮโดรเทสทอสเตอโรน (Dihydrotestosterone) หรือ DHT ที่เป็นฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งบางคนหนังศีรษะจะมีความไวต่อฮอร์โมนนี้ ทำให้วงจรของผมสั้นลง จึงเกิดผมบางกลางหัว หรือผมด้านหน้าบาง ส่งผลให้เกิดปัญหาผมบางในผู้ชายค่อนข้างมาก

3.โรคภัยไข้เจ็บ

อาการป่วยของโรคบางชนิดทำให้ผมร่วงจนบางได้ มีทั้งโรคที่เกิดขึ้นกับหนังศีรษะโดยตรง เช่น โรคภูมิแพ้รากผม โรคผมร่วงจากเชื้อรา โรคฝีหนองบนศีรษะ ซึ่งโรคเหล่านี้จะส่งผลเสียต่อหนังศีรษะและเส้นผมโดยตรง นอกจากนี้ยังมีโรคอื่นๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับศีรษะโดยตรง แต่ก็ทำให้ผมร่วง ผมบางได้ เช่น โรคแพ้ภูมิตัวเอง โรคเบาหวาน โรคโลหิตจาง โรคซิฟิลิส ไข้ทัยฟอยด์ ไข้มาเลเรีย เป็นต้น

4.ผมร่วงหลังคลอด

หลังคลอดบุตรจะทำให้คุณแม่เกิดภาวะต่างๆ หนึ่งในนั้นคือ ผมร่วงหลังคลอด ทำให้ผมบางขึ้น ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลงอย่างฉับพลัน แต่อาการผมร่วง ผมบางนี้สามารถหายกลับมาเป็นปกติได้ภายใน 3-6 เดือน

5.ผมร่วงหลังผ่าตัด

อาการผมบาง ผมร่วงหลังการผ่าตัดอาจพบเจอได้แต่จะไม่เกิดขึ้นทันที หลังผ่าตัดไปแล้ว 3-4 เดือนจึงจะเห็นว่าผมเริ่มบางลง เป็นผลข้างเคียงจากความเครียดของร่างกายหลังการผ่าตัด และยาสลบที่ใช้ในการผ่าตัด ไม่ว่าจะเป็นแบบดม แบบทาน หรือแบบฉีด

แนะนำวิธีแก้ไขปัญหาผมร่วง : วิธีแก้ผมร่วง

6.การใช้ยาบางประเภท

การใช้ยาบางประเภท เช่น ยาเคมีบำบัด หรือยารักษาสิวที่เป็นกรดวิตามินเอสังเคราะห์ ยาฆ่าเชื้อ ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยาคุมกำเนิด อาจจะทำให้ผมบางได้ในบางคน เพราะยาบางชนิดจะไปลดการทำงานของต่อมไขมัน หรือรบกวนการไหลเวียนของเลือดบริเวณรากผม จึงส่งผลข้างเคียงทำให้ผมเริ่มบางกับผู้ที่ใช้ยาเป็นเวลานาน

7.รังแค

การที่มีรังแค หรือ หนังศีรษะอักเสบ ทำให้เกิดผมบางได้เช่นกัน รังแคไม่ใช่สาเหตุโดยตรงที่ทำให้ผมร่วงจนบาง แต่เมื่อมีรังแคก็จะทำให้คันและเกาศีรษะมากขึ้น ซึ่งหากเกาหนังศีรษะบ่อยหรือเกาแรง จะทำให้รากผมถูกทำลาย หรืออาจเกิดแผลเป็นจนทำให้เส้นผมบริเวณนั้นไม่ขึ้นมาอีก

พฤติกรรมใดบ้าง ที่ทำให้เสี่ยงผมบาง

ในบางครั้งพฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวันก็มีส่วนทำให้ผมบาง หรือสร้างความเสี่ยงที่อาจส่งผลให้เกิดภาวะผมบางได้เช่นกัน ซึ่งบางพฤติกรรมหลายคนก็อาจคาดไม่ถึงว่าสามารถทำให้เกิดความเสี่ยงได้ โดยวันนี้จะพาไปดูพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการผมบาง ดังนี้

1.การพักผ่อนไม่เพียงพอ

การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอก็มีความเสี่ยงทำให้ผมร่วง ผมบางได้ เพราะในขณะที่นอนหลับร่างกายจะฟื้นฟูซ่อมแซมตัวเอง แต่ถ้าหากนอนดึก นอนน้อย พักผ่อนไม่เพียงพอก็จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ อาจส่งผลต่อความแข็งแรงของรากผม ซึ่งจะทำให้ผมร่วงจนบางลงได้

2.ความเครียดสะสม

ผู้ที่มีความเครียดสะสมไม่ว่าจะเกิดจากสิ่งใดก็ตาม ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนความเครียด (Cortisol) ออกมา ซึ่งฮอร์โมนนี้จะทำให้ร่างกายใช้พลังงานเยอะและเสื่อมถอยอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังเข้าไปยับยั้งการทำงานของโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ที่จะช่วยเสริมสร้างและซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของร่างกาย จึงทำให้เกิดผมบางได้

3.การใช้ความร้อนกับเส้นผม

อีกหนึ่งพฤติกรรมเสี่ยงของอาการผมบางคือการใช้ความร้อนที่อุณหภูมิสูงเกินไป หรือใช้ความร้อนกับเส้นผมบ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นความร้อนจากไดร์เป่าผม หรือความร้อนจากที่หนีบผมนั้น เป็นการทำร้ายเส้นผมโดยตรง ทำให้ผมเสีย อ่อนแอ เส้นผมแห้ง กรอบ แตกปลายสุดท้ายก็จะหลุดร่วงได้ง่าย 

4.การใช้สารเคมีกับเส้นผม

สารเคมีที่ใช้ดัด ยืด ทำสีผม เมื่อใช้บ่อยๆ จะทำให้เส้นผมอ่อนแอ เพราะสารเคมีเหล่านี้จะเข้าไปทำลายทั้งเส้นผมและรากผม ทำให้ผมแห้งเสียขาดความชุ่มชื้น หรืออาจทำให้เกิดอาการอักเสบที่หนังศีรษะทำให้รากผมอ่อนแอ ผมร่วงจนผมบางลงในที่สุด

5.การหวีหรือเช็ดผมที่รุนแรงเกินไป

ทราบหรือไม่ว่าพฤติกรรมที่เสี่ยงทำให้ผมบางที่หลายคนมักทำบ่อยๆ โดยไม่รู้ตัวคือการหวีหรือเช็ดผมแรงเกินไป หลายคนเมื่อสระผมเสร็จหลายคนก็จะต้องการให้ผมแห้งเร็ว นอกจากใช้ความร้อนเร่งให้ผมแห้งเร็วจะทำให้ผมบางลงแล้ว การเช็ดผมที่แรงเกินไปก็ทำให้ผมร่วง ผมบางได้เช่นกัน เพราะในขณะที่ผมเปียกจะเป็นช่วงที่เส้นผมอ่อนแอที่สุด หากเช็ดหัวแรงๆ หรือหวีผมตอนที่ผมเปียก ก็จะทำให้เส้นผมหลุดร่วงจนผมเริ่มบางได้

6.การรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์

การรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ก็ส่งผลต่อเส้นผมได้เช่นกัน เพราะเส้นผมก็จำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อการเติบโต และสร้างเส้นผมใหม่ ยิ่งไปกว่านั้นการรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ติดต่อกันเป็นเวลานานจะส่งผลให้ร่างกายขาดโปรตีนและวิตามิน ซึ่งหากร่างกายขาดโปรตีนก็จะส่งผลให้ผมร่วง รวมไปถึงวิตามินบางชนิดที่หากขาดไปจะทำให้ผมเปราะขาดง่ายยิ่งขึ้น เช่น วิตามินบี6 วิตามินบี12 กรดโฟลิก เป็นต้น

7.การดื่มแอลกอฮอล์

การดื่มแอลกอฮอล์ส่งผลทางอ้อมทำให้ผมบางได้ เพราะเมื่อดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมแร่ธาตุ และวิตามินได้ดีเหมือนเดิม จึงสูญเสียสารอาหารที่สำคัญต่อเส้นผมไปเช่น วิตามินบี ธาตุเหล็ก ทองแดง สังกะสี นอกจากนี้ยังทำให้ผมขาดความชุ่มชื้น ขาดหลุดร่วงจนผมบางลง

8.การมัดผมแน่นเกินไป

การมัดผม หรือถักเปียแน่นจนผมตึงเกินไป จะทำให้รากผมอ่อนแอจากการถูกดึง อีกทั้งโครงสร้างของเส้นผมจะถูกบิดงอจนผิดรูป ซึ่งถ้าหากทำบ่อยครั้งก็เป็นสาเหตุของผมบางได้

9.การสูบบุหรี่

การสูบบุหรี่นอกจากจะส่งผลเสียต่อปอดแล้ว ยังส่งผลเสียต่อเส้นผมด้วย เนื่องจากสารนิโคตินในบุหรี่ทำให้เส้นเลือดหดตัว เมื่อระบบการไหลเวียนของเลือดไม่ดี เส้นผมก็จะขาดสารอาหารทำให้ผมบาง ที่สำคัญบุหรี่ยังเร่งให้ร่างกายผลิตฮอร์โมน DHT ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ชายผมร่วง ผมบางนั่นเอง

10.การนอนในขณะที่ผมเปียก

พฤติกรรมสุดท้ายที่สร้างความเสี่ยงให้ผมบางนั้นคงหนีไม่พ้นการนอนทั้งๆ ที่ผมเปียกเมื่อสระผมก่อนเข้านอนแล้วเช็ดผมไม่แห้งสนิท แล้วนอนในขณะที่ผมยังเปียกอยู่นั้น จะทำให้มีความชื้นสะสมที่หนังศีรษะ และหมอน เมื่อความชื้นสะสมมากขึ้นก็จะกลายเป็นเชื้อรา รังแค หนังศีรษะอักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ผมไม่แข็งแรงหลุดร่วงง่ายจนผมเริ่มบางลง

ผมบาง รักษาอย่างไร 

สำหรับหลายท่านที่สงสัยว่าเมื่อเกิดอาการผมบางควรรักษาด้วยวิธีการใดได้บ้างนั้น การรักษาผมบางที่ได้ผลดี อันดับแรก แนะนำให้ตรวจหาสาเหตุของผมบางให้ทราบการวินิจฉัยที่ชัดเจน เพื่อวางแผนการรักษา ให้ตรงจุด ซึ่งการรักษาผมบางมีทั้งวิธีที่เริ่มจากการดูแลตัวเอง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันง่ายๆ ไปจนถึงการพบแพทย์เพื่อรักษาอาการผมบาง โดยวิธีรักษาแต่ละแบบมีดังนี้

1.หลีกเลี่ยงการใช้ความร้อนกับเส้นผม

ความร้อนที่เราใช้กับเส้นผมมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ไดร์เป่าผมที่มีความร้อนเป็นเวลานาน เพื่อเร่งให้ผมแห้งเร็วขึ้น จะทำให้หนังศีรษะแห้งขาดความชุ่มชื้น รากผมไม่แข็งแรง หรือการใช้ที่หนีบผมบ่อยครั้ง จะทำให้เส้นผมเปราะบาง แห้งเสีย ผมขาด ผมร่วงจนบางได้

2.หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกับเส้นผม

การใช้สารเคมีกับเส้นผมทั้งน้ำยายืดผม น้ำยาย้อมสีผม สารเคมีสังเคราะห์จะเข้าไปทำลายเส้นผม ทำให้ผมแห้งเสีย ขาดหลุดร่วงจนผมเริ่มบางลง หรือการใช้สเปรย์ มูส เจล เพื่อจัดแต่งทรงผม ซึ่งมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์เป็นหลัก ก็เป็นสาเหตุของผมบางเช่นกัน

3.รับประทานอาหารบำรุงเส้นผม

การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ จะช่วยให้เส้นผมได้รับสารอาหารครบถ้วนที่พร้อมไปบำรุงให้เส้นผมมีความแข็งแรง กระตุ้นการเติบโตใหม่ของเส้นผมอยู่เสมอ โดนเฉพาะอาหารที่มีสารอาหารดังต่อไปนี้ จะส่งผลดีต่อสุขภาพความแข็งแรงของผมเป็นอย่างมาก โดยได้แก่ อาหารที่มีวิตามินเอ วิตามินซี วิตามินบี12 วิตามินดี ไบโอติน ธาตุเหล็กสารต้านอนุมูลอิสระ เป็นต้น

4.ใช้แชมพูแก้ผมร่วง

การเลือกใช้แชมพูแก้ผมร่วง ผมบางถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยบำรุงฟื้นฟูเส้นผม เพราะในแชมพูแก้ผมร่วง ผมบางนั้นจะมีส่วนประกอบอย่างคีโตโคนาโซล (Ketoconazole) ที่จะช่วยลดอาการหลุดร่วงของเส้นผม ลดอาการผมบาง และยังช่วยลดการเกิดรังแค ที่ล้วนแต่เป็นสาเหตุทำให้ผมบางนั่นเอง

5.สระผมถูกให้วิธี

ใครว่าการสระผมไม่สำคัญ จริงๆ แล้วการสระผมให้ถูกวิธีถือเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่ช่วยรักษาผมบางได้ โดยควรสระผมน้ำอุณหภูมิปกติ ไม่ควรสระผมด้วยน้ำอุ่นเพราะอาจทำให้หนังศีรษะแห้ง และอาจส่งผลให้เกิดน้ำมันบนหนังศีรษะเสียสมดุล

อ่านบทความสาระความรู้เพิ่มเติม : วิธีทำให้ผมหนา

6.การศัลยกรรมปลูกผม

นอกจากวิธีการรักษาด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้ว การรักษาอาการผมบางยังสามารถทำได้ด้วยวิธีการศัลยกรรมปลูกผมอีกด้วย โดยวิธีการศัลยกรรมปลูกผมนั้นมีหลากหลายวิธีเช่น

  • การปลูกผม FUE (Follicular Unit Extraction) เป็นการปลูกผมถาวรที่ไม่เกิดแผล เพราะการปลูกผมแบบ FUE นั้นจะเป็นการเจาะเซลล์รากผมที่แข็งแรง มาปลูกบนตำแหน่งและทิศทางที่ต้องการ โดยไม่ต้องผ่าตัด
  • การปลูกผม FUT (Follicular Unit Hair Transplant) เป็นการปลูกผมถาวร โดยการปลูกผม FUTจะผ่าตัดเซลล์รากผมจากท้ายทอยทีละเส้น นำไปปลูกบริเวณด้านบนหรือด้านหน้าศีรษะ ทำให้เส้นผมแข็งแรงเรียงตัวสวยงาม
  • การปลูกผม DHI (Direct Hair Implantation) เป็นการปลูกผมถาวรอีกหนึ่งวิธีที่ใช้เทคนิคเดียวกับการปลูกผมแบบ FUE คือการนำเซลล์รากผมที่แข็งแรงมาปลูก แต่สามารถปักลงไปที่หนังศีรษะได้โดยไม่ต้องเจาะรู
  • การปลูกผม Micro TRIM FUE เป็นวิธีการปลูกผมที่พัฒนามาจากการปลูกผมแบบ FUE โดยจะแตกต่างกันที่จะใช้เครื่องมือเจาะเซลล์รากผมให้มีขนาดเล็กลงแต่แข็งแรงขึ้น และสามารถปลูกได้แม่นยำกว่า

7.การกระตุ้นรากผม

การรักษาผมบางยังสามารถทำได้ด้วยการกระตุ้นรากผมด้วยเช่นกัน ซึ่งการกระตุ้นรากผมมีวิธีการรักษาหลากหลายวิธี ดังนี้

  • ฉีด PRP ผม (Platelet Rich Plasma) เป็นวิธีการกระตุ้นรากผมโดยใช้เกล็ดเลือดเข้มข้น โดยการฉีด PRP ผม จะฉีดเข้าไปในหนังศีรษะบริเวณที่ผมบาง ทำให้กระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์รากผม ทำให้ผมกลับมาขึ้นและแข็งแรงเหมือนปกติ
  • เลเซอร์ LLLT (Low Level Laser Therapy) เป็นวิธีการกระตุ้นรากผมโดยยิงเลเซอร์คลื่นแสงความถี่ต่ำลงบนหนังศีรษะ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น เซลล์รากผมได้รับสารอาหารและเจริญเติบโตอย่างแข็งแรง
  • ฉีดสเต็มเซลล์ผม (Rigenera Activa) เป็นการนำเซลล์ต้นกำเนิดจากรากผมมาฉีดลงบนหนังศีรษะ เพื่อกระตุ้นการรากผมให้แข็งแรงขึ้น และลดฮอร์โมนที่ทำให้เกิดผมร่วง ผมบาง

ผมบาง รักษาที่ไหนดี

การเลือกสถานที่รักษาผมบางนั้นหลายท่านที่มีปัญหาได้มีการคำนึงถึงหลายๆ อย่างโดยเฉพาะค่ารักษาพยาบาลในการปลูกผม ซึ่งราคาของแต่ละคลินิกนั้นขึ้นอยู่กับประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญของแพทย์ที่ให้การรักษาในด้านเส้นผมหนังศีรษะ รวมไปถึงเทคนิคในการรักษาของแพทย์แต่ละท่านที่ทำให้ราคาในการปลูกผมเพื่อแก้ไขปัญหาผมบางนั้นมีความแตกต่างกันออกไปนั่นเอง

นอกเหนือจากราคาในการรักษาที่หลายท่านต้องพิจารณาเมื่อหาสถานที่รักษาผมบางแล้วนั้น ยังมีปัจจัยอื่นที่ต้องพิจารณาอีกเช่นประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ เทคนิคในการปลูกผมของแพทย์ที่ให้การรักษา สถานที่ตั้งของคลินิก ความสะอาด ความปลอดภัย มาตรฐานต่างๆ ไปจนถึงเทคโนโลยีอุปกรณ์ที่ใช้ในการรักษาอีกด้วย 

สำหรับใครที่กำลังมองหาคลินิกในการรักษาผมบางที่มาพร้อมความเชี่ยวชาญ ได้มาตรฐาน ปลอดภัย พร้อมเทคโนโลยีที่ทันสมัยนั้น Dr.Tarinee Clinic เป็นหนึ่งในคลินิกที่พร้อมให้การรักษาผู้มีอาการผมบาง เพราะที่นี่เป็นคลินิกปลูกผมเฉพาะทางที่ตอบโจทย์ผู้ที่มีปัญหาเรื่องผมต่างๆ ทั้งปัญหาหัวล้าน ผมร่วง ผมบาง โดยที่ Dr.Tarinee Clinic อยู่ภายใต้การดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านโรคเส้นผมและศัลยกรรมการปลูกผมจากศิริราช แพทย์หญิงธารินี ก่อวิริยกมล หรือคุณหมอแก้ว ที่มีประสบการณ์การทำงานด้านนี้มามากกว่า 15 ปี และดูแลด้านเส้นผมมามากกว่า 3000 เคส และได้ให้การดูแล ไปจนถึงออกแบบการรักษาเองทุกเคสเพื่อให้ได้วิธีการรักษาที่เหมาะสมกับคนไข้แต่ละคน 

จึงสามารถการันตีได้ว่าคนไข้ที่เข้ารับการรักษาผมบางกับทางคลินิกจะได้รับผลลัพธ์ที่พึงพอใจ และกลับมามีความมั่นใจในเส้นผม หนังศีรษะ และคิ้วได้เหมือนเช่นเคย

สรุปปัญหาผมบาง

สรุปแล้วอาการผมบางเป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอกเช่น พันธุกรรม ฮอร์โมน พฤติกรรมในชีวิตประจำวันต่างๆ ที่สร้างความเสี่ยงทำให้เกิดภาวะผมบางได้มากขึ้น โดยหลายๆ ท่านสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดอาการผมร่วงให้ลดลงได้ทั้งหลีกเลี่ยงการใช้ความร้อน สารเคมีกับเส้นผม สระผมให้ถูกวิธี เลือกใช้ยาสระผมแก้ผมร่วง รวมไปถึงเลือกรับการรักษากับแพทย์เฉพาะทางด้านเส้นผมได้เช่นกัน

แต่สำหรับท่านใดที่มีปัญหาเกี่ยวกับเส้นผม และหนังศีรษะในเรื่องอื่นๆ โดยเฉพาะอาการผมบาง ผมร่วงเป็นหย่อม หัวล้าน คิ้วบาง ปัญหาหนังศีรษะอื่นๆ หรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการปลูกผมรูปแบบต่างๆ มีความต้องการปลูกคิ้ว สามารถติดต่อรับคำปรึกษาเพิ่มเติมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้โดยตรง แบบไม่มีค่าใช้จ่าย หรือจะส่งรูปภาพอาการของเส้นผม และหนังศีรษะมาให้คุณหมอประเมินเบื้องต้นได้ผ่านช่องทางต่างๆ ดังต่อไปนี้ค่ะ

Website : Dr.Tarinee Hair Clinic

Line : @drtarinee 

Facebook : Dr.Tarinee Hair Clinic ปลูกผม รักษา ผมร่วง ผมบาง

ขอบคุณข้อมูลจาก

Fletcher, J. (2022b, December 14). How to get thicker hair. https://www.medicalnewstoday.com/articles/319862

How to Make Your Hair Grow Thicker, According to Experts. Harper’s BAZAAR. (2023b, January 4). https://www.harpersbazaar.com/beauty/hair/a574/hair-tips-1010/

Cherry, R. (2022, September 22). How to Get Thicker Hair, According to a Dermatologist. Shape. https://www.shape.com/lifestyle/beauty-style/hair/how-to-get-thicker-hair