หัวล้าน รักษาอย่างไร

หัวล้าน

หัวล้าน คำนี้ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้หญิง หรือผู้ชาย เด็ก หรือวัยรุ่น หรือผู้สูงอายุ ก็ไม่อยากตกอยู่ในภาวะนี้ เพราะภาวะหัวล้าน อาจจะทำให้เราขาดความมั่นใจ และส่งผลต่อการใช้ชีวิต หรือเกิดความเครียดตามมาได้ ดังนั้น วันนี้เราจะมารู้จักภาวะหัวล้าน ว่าเกิดจากอะไรได้บ้าง แล้วมีแนวทางการรักษาอย่างไรบ้างที่จำให้เรามีผมกลับมาอีกครั้ง ส่งคือความมั่นใจให้กับเรา



อาการหัวล้าน ปัญหาหนักใจของหลาย ๆ คน

อาการหัวล้านนั้น พบมากในเพศชาย แต่ก็พบได้ในเพศหญิงเช่นกัน โดยจะมีอาการผมเส้นเล็กลง บางลงโดยลักษณะผมบางลงบริเวณขมับ หน้าผาก หรือตรงขวัญ และสุดท้ายเหลือไว้แค่เพียงท้ายทอย โดยอัตราการเกิดจะมากขึ้นตามอายุเช่นในคนผิวขาว จะพบว่ามีการเกิดขึ้น 30% เมื่ออายุ 30 ปี, 50% เมื่ออายุ 50 ปี, และ 80% เมื่ออายุ 70 ปี ส่วนในคนเอเชียพบว่าอุบัติการณ์น้อยกว่านี้ มีงานวิจัยในไทยพบว่าคนผมบาง 50% เมื่ออายุ 50ปี  ส่วนเพศหญิงจะพบว่ามาการบางบริเวณรอยแสกกลางศีรษะกว้างขึ้นเรื่อย ๆ 

หากท่านสังเกตพบว่าเราเริ่มมีผมบางลง หรือ เห็นรอยแสกกว้างขึ้น หรือเมื่อก้มศีรษะมองเห็นหนังศีรษะมากขึ้น แนะนำให้เข้ามาพบแพทย์เพื่อปรึกษาถึงแนวทางการรักษา เพราะการรักษาตั้งแต่เริ่มบางดีกว่าการรักษาเมื่อผมบางมากแล้ว

อาการหัวล้าน
อาการหัวล้าน ปัญหาหนักใจของหลาย ๆ คน

ผมร่วง สัญญาณเตือนนำไปสู่อาการหัวล้าน

หากคุณมีอาการผมร่วงมากกว่าปกติ จับผมแล้วผมติดมือออกมาทุกรอบ หรือเห็นผมร่วงเต็มหมอนแบบไม่เคยเป็นมาก่อน คุณควรรีบเข้ามาปรึกษาแพทย์ หรือถ้าคุณเริ่มสังเกตเห็นผมบางลงทั้งตรงขวัญ แนวแสกผม หรือหน้าผากที่กว้างขึ้น หรือผมร่วงเป็นหย่อม ก็ควรรีบมาปรึกษาแพทย์เช่นกัน เพื่อตรวจประเมินวินิจฉัย รวมถึงให้คำแนะนำและแจ้งแนวทางการรักษาที่เหมาะสม ถ้าปล่อยไว้นานการรักษาจะยากขึ้น หรืออาจจะทำให้เราผมบาง ศีรษะล้าน ตามมาได้

หัวล้าน เกิดจากอะไร

ภาวะหัวล้านเกิดจากหลายปัจจัย ซึ่งแต่ละคนก็มีปัจจัยแตกต่างกันออกไปปัจจัยที่พบบ่อยมีดังต่อไปนี้

1. กรรมพันธุ์

กรรมพันธุ์เป็นปัจจัยที่พบบ่อย เมื่อเรามีคนในครอบครัวเช่นคุณพ่อ คุณลุง ผมบาง เรามีโอกาสที่ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุ์กรรมนั้นมาด้วยเช่นกัน ในปัจจุบันมีการศึกษาตำแหน่งใน Gene มากมายว่าตัวไหนจะเป็นตัวทำนายได้ว่าเราจะมีโอกาสผมบางในอนาคตได้หรือไม่ แต่ผลที่ได้พบว่ามี Gene หลายตำแหน่งมากที่มีโอกาสเกี่ยวข้องกับการเกิดผมบาง หรือหัวล้าน และยังไม่ชัดเจน ในอนาคตอาจจะพอมีบาง Gene ที่เราสามารถตรวจได้ว่าเราจะหัวล้านหรือไม่ เพื่อเตรียมการป้องกันไว้ก่อนจะมีการเกิดขึ้น

หัวล้านกรรมพันธุ์
หัวล้านกรรมพันธุ์

2. ฮอร์โมนเพศชาย

ฮอร์โมนเพศชาย หรือ androgen มีส่วนทำให้เกิดภาวะผมบาง หัวล้านได้ เพราะที่รากผมของเราจะมีตัวรับฮอร์โมนตัวนี้ เมื่อจับกัน และมีการเปลี่ยนแปลงจาก testosterone ( ตัวandrogenที่พบมากในกระแสเลือด) ไปเป็น Dehydrotestosterone (DHT) โดนเอนไซม์ 5-alpha reductase ที่บริเวณรากผมและต่อมไขมันที่ผม ตัว DHT คือตัวที่ทำให้ผมมีขนาดเส้นเล็กลง ทำให้ผมบางลง และฝ่อตัวไปในที่สุด

3. ช่วงอายุ

อายุที่มากขึ้น นอกจากการเสื่อมไปตามวัยของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย การหมดช่วงอายุขัยของวงจรเส้นผมก็เกิดขึ้นได้เช่นกัน พบว่าผมบางเส้นเมื่อผ่านวงจร (สร้าง-หยุดทำงาน- ร่วงออกมา) วนอยู่ประมาณ 20 รอบ ก็จะฝ่อตัวไม่สร้างอีกต่อไป รวมไปถึงการฟื้นฟูก็เสื่อมลงหรือทำได้ช้าด้วยเช่นกัน

สาเหตุอาการหัวล้านจากโรคต่าง ๆ

นอกจากปัจจัยข้างต้นทำให้เกิดภาวะหัวล้านแล้วนั้น พบว่าสาเหตุดังต่อไปนี้อาจจะทำให้หัวล้านได้เช่นเดียวกันค่ะ

1. หัวล้านจากโรคผมร่วงเป็นหย่อม

หัวล้านจากโรคผมร่วงเป็นหย่อม
หัวล้านจากโรคผมร่วงเป็นหย่อม

โรคผมร่วงเป็นหย่อมเกิดจากสาเหตุอะไรยังไม่ชัดเจน แต่ส่วนหนึ่งมากจากพันธุกรรม ภูมิคุ้มกันภายใน หรือภาวะความเครียดความเจ็บป่วยไม่สบายก็อาจจะกระตุ้นให้เกิดภาวะผมร่วงเป็นหย่อมได้เช่นกัน 

โดยมากภาวะผมร่วงเป็นหย่อมเกิดได้ในทุกเพศทุกวัย และมักมาด้วยผมร่วงเป็นวงเล็ก ๆ อาจจะเกิดจุดเดียว หรือหลายจุดก็ได้ แต่ก็มีบางรายที่เกิดเป็นผมร่วงทั่วทั้งศีรษะ หรือทั่วตัว (ขนคิ้ว ขนตา ขนหัวหน่าวร่วงร่วมด้วย) ก็พบได้เช่นเดียวกัน โดยแบบหลังการพยากรณ์ของโรคจะไม่ค่อยดี และอาจจะใช้ระยะเวลาการรักษานาน

การรักษาผมร่วงเป็นหย่อมขึ้นกับอายุ และขนาดของผมร่วง โดยมีทั้ง ทายา ฉีดยา หรือรับประทานยา โดยมากใช้ระยะเวลารักษา 6-12 เดือน 

ตัวโรคผมร่วงเป็นหย่อมอาจจะเป็น ๆ หาย ๆ ได้ หากมีปัจจัยกระตุ้น เช่น ภาวะความเครียด ภาวะเจ็บป่วยของร่างกาย ยา หรือวัคซีนบางชนิด

หากมีอาการผมร่วงเป็นหย่อม แนะนำให้พบแพทย์ผิวหนังหรือหมอผมใกล้บ้านจะดีที่สุดค่ะ

2. หัวล้านจากโรคดึงผมตัวเอง 

หัวล้านจากโรคดึงผมตัวเอง
หัวล้านจากโรคดึงผมตัวเอง

โรคดึงผม หรือTrichotillomania เป็นภาวะหนึ่งที่คนดึงผมตัวเอง ทั้งแบบรู้ตัวและไม่รู้ตัว ทำให้เกิดผมร่วง ผมหัก ผมขาดเกิดขึ้น รวมถึงเกิดการอักเสบของรากขนด้วย 

ลักษณะผมที่ร่วงจะมีความยาวของเส้นผมที่ขาดไม่เท่ากัน รูปร่างวงที่ผมร่วงจะขอบไม่ชัดเจน หรือรูปร่างประหลาด อาจจะพบข้างที่มือคนไข้ถนัด อาจจะพบรอยแดง ๆ ถ้ามีการดึงนาน ๆ

การรักษา จะเป็นการค่อย ๆ พูดคุยคลายความกังวลให้คนไข้ ร่วมกับปรึกษาคุณหมอจิตแพทย์เพื่อช่วยรักษาทางจิตใจหรือทานยาที่ช่วยรักษาอาการและเพิ่มสมดุลสารในสมองให้คลายความเครียดลง

3. หัวล้านจากโรคผมร่วงฉับพลัน

หัวล้านจากโรคผมร่วงฉับพลัน
หัวล้านจากโรคผมร่วงฉับพลัน

ภาวะผมร่วงฉับพลัน หรือ acute telogen effluvium คือภาวะผมร่วงทั่วทั้งศีรษะหลังจากมีเหตุการณ์ความเครียดอย่างรุนแรงมากระตุ้น หรือ ภาวะเจ็บป่วยไม่สบาย น้ำหนักลดเยอะ ๆ ในเวลาอันสั้น หรือหลังคลอดบุตร ก็พบได้

โดยภาวะผมร่วงฉับพลัน จะมีอาการผมร่วงมากกว่าปกติ หรือร่วงติดมือติดหมอนมากกว่าปกติ โดยไม่ค่อยมีอาการอื่น เช่นคัน หรือมีสะเก็ดที่ศีรษะ อาการผมร่วงมักเป็นอยู่ 3-6 เดือน แล้วค่อย ๆ หยุดร่วง และผมขึ้นใหม่มาอีกได้

การรักษาในช่วงที่ผมร่วง เป็นการประคับประคอง เช่น ใช้แชมพูอ่อน ๆ ไม่หวีผมแรง ทาวิตามินบำรุงผม

ปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่ออาการหัวล้าน

นอกจากปัจจัยขั้นต้นยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกที่ส่งผลต่อหัวล้าน

1. ความเครียดสะสม

ความเครียดส่งผลกระทบโดยตรง เนื่องจากความเครียด ไปกวนระบบฮอร์โมนบางตัวในร่างกายทำให้เกิดผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของวงจรเส้นผม ทำให้ผมร่วง ผมบาง หัวล้านได้

2. ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ

การที่ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ทานอาหารไม่ครบหมู่ ทำให้ขาดสารอาหารหรือแร่ธาตุบางอย่าง ส่งผลต่อการสร้างของเส้นผม ทำให้ผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้านได้

แนวทางป้องกันอาการหัวล้าน

แนวทางป้องกันอาการหัวล้าน
แนวทางป้องกันอาการหัวล้าน
  1. พักผ่อนให้เพียงพอ
  2. ทานอาหารให้ครบหมู่
  3. เลี่ยงเลี่ยงความเครียด
  4. หลีกเลี่ยงปัจจัยที่มีผมกระทบต่อสุขภาพ เช่น นอนดึก ดื่มสุรา สูบบุหรี่
  5. หากมีปัญหาผมร่วงผมบางให้รีบมาปรึกษาแพทย์ตั้งแต่ต้น เพื่อทราบแนวทางการรักษาที่ถูกต้อง และป้องกันไม่ให้ผมร่วงผมบางเป็นมากจนรากผมฝ่อ จนต้องรักษาด้วยการปลูกผม

วิธีแก้ปัญหาหัวล้าน

เมื่อเกิดปัญหาหัวล้าน หัวล้านตรงกลาง เราสามารถเข้ามาปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจประเมินการรักษาได้ โดยแนวทางการรักษามีหลากหลายดังนี้

รักษาอาการหัวล้านด้วยการใช้ยา

การใช้ยา Finasteride หรือยาทา minoxidl เป็นการรักษาหลักช่วยทำให้ผมฝ่อกลับมามีความแข็งแรง และอ้วนขึ้นได้อีกครั้ง แต่ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ และจะได้ผลดีในรายที่ยังมีรากผมอยู่ 

รักษาอาการหัวล้านด้วยการศัลยกรรมปลูกผม

รักษาอาการหัวล้านด้วยการศัลยกรรมปลูกผม
รักษาอาการหัวล้านด้วยการศัลยกรรมปลูกผม

ในกรณีที่รากผมฝ่อไปแล้ว หรือรูขุมขนปิดไปแล้ว แพทย์อาจจะพิจารณาเป็นการรักษา ปลูกผม โดยเทคนิคการปลูกผมมีทั้งแบบ FUE หรือแบบผ่าตัดปลูกผม FUT ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อบ่งชี้ของคนไข้แต่ละราย และข้อจำกัดของคนไข้ โดยการปลูกผมที่ Dr.Tarinee Hair Clinic จะใช้เป็นเทคนิคพิเศษ คือ MicroTRIM FUE เป็นการเตรียมกราฟให้มีขนาดเล็กและพร้อมที่จะปลูกกลับ เป็นเทคนิคที่ตอบสนองดีต่อการปลูกและได้แนวเป็นธรรมชาติ

รักษาอาการหัวล้านด้วยการกระตุ้นรากผม

รักษาอาการหัวล้านด้วยการกระตุ้นรากผม
รักษาอาการหัวล้านด้วยการกระตุ้นรากผม

นอกจากการรักษาด้วยยา และการผ่าตัดปลูกผมแล้ว การรักษาหัวล้าน ยังมีการรักษาโดยการ ฉีด PRP ผม ช่วยฟื้นฟูบำรุงหนังศีรษะ และกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นผม

การฉายเลเซอร์ LLLT เป็นเลเซอร์ความเข้มข้นต่ำที่ช่วยกระตุ้นการงอกของเส้นผม ลดการอักเสบของหนังศีรษะ และฟื้นฟูเซลล์หนังศีรษะให้ทำงานดีขึ้น

ฉีดสเต็มเซลล์ผม Rigenera เป็นการนำรากผมมาสกัดสเต็มเซลล์ของตัวเราเองมาฉีดกลับบริเวณผมที่บางหรือ หัวล้าน เพื่อฟื้นฟูกระตุ้นการงอกของเส้นผม ทำให้เส้นผมแข็งแรง และยังช่วยรักษาผมบางจากกรรมพันธุ์ได้ด้วย

หัวล้าน อยากปลูกผมราคาเท่าไหร่

การปลูกผมมีราคาหลากหลาย ขึ้นอยู่กับเทคนิคและจำนวนกราฟที่ต้องใช้  หรือความรุนแรงของปัญหาเส้นผม ฝีมือและประสบการณ์ของแพทย์ รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ อีก ทำให้ราคาปลูกผมของแต่ละคลินิกมีราคาแตกต่างกันไปตั้งแต่ช่วงประมาณ 30,000 สูงไปจนถึงช่วง 200,000 บาทกันได้เลยค่ะ ดังนั้นคุณหมอจึงอยากขอแนะนำให้ผู้อ่านทุกท่านพิจารณาถึงความน่าเชื่อถือ มาตรฐานของคลินิก  ความสะอาด คุณภาพของอุปกรณ์ และความชำนาญของแพทย์ประกอบการตัดสินใจกับเรื่องราคามาเป็นอันดับแรก เพื่อความปลอดภัย และผลลัพธ์ที่ดีในการรักษาของตัวคุณเอง

คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับปัญหาหัวล้าน

ใส่หมวกบ่อย ทำให้หัวล้านจริงไหม

ไม่จริง ยังไม่มีรายงานอะไรที่บอกว่าการใส่หมวกทำให้ผมร่วง หัวล้าน แต่การใส่หมวกที่คับเกินไปอาจจะทำให้กดทับศีรษะทำให้ผมร่วงเฉพาะจุด หรือ การใส่หมวกนานเกินไปทำให้เกิดการอับชื้น และเกิดการติดเชื้อราตามมาและเกิดผมร่วงได้

ทำเคมีบ่อย ทำให้หัวล้านจริงไหม

การทำเคมีที่เยอะ หรือบ่อยเกินไป เช่น ฟอกสีผมบ่อย อาจจะทำให้ผมเสียขาดและดูผมบางลงได้ แต่ไม่ได้มีผลต่อผมบางจากกรรมพันธุ์หรือหัวล้านโดยตรง

สรุปปัญหาหัวล้าน

ปัญหาหัวล้าน เกิดจากกรรมพันธุ์เป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีหลายปัจจัยที่ทำให้หัวล้านด้วยเช่นกัน เช่น ความเครียด โรคผมร่วงเป็นหย่อม โรคดึงผม หรืออายุที่มากขึ้น ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหาผมบางหัวล้าน ควรได้รับการตรวจรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพ และป้องกันไม่ให้รากผมฝ่อ แต่ถ้ารากผมฝ่อไปแล้วก็สามารถรักษาด้วยการผ่าตัดปลูกผมได้

หากมีปัญหาผมร่วง ผมบาง หัวล้าน สามารถปรึกษาแพทย์หญิงธาริณี ก่อวิริยกมล ได้ที่ Dr.Tarinee Hair Clinic โทร 0889519193 หรือไลน์ @drtarinee 

Ref.

Chin H. Ho; Tanuj Sood; Patrick M. Zito. (October 16, 2022.)Androgenetic Alopecia.

Androgenetic Alopecia – StatPearls – NCBI Bookshelf (nih.gov)

Beth G Goldstein, MDAdam O Goldstein, MD, MPH. (Aug 10, 2022.) Patient education: Androgenetic alopecia in men and women (Beyond the Basics).

Patient education: Androgenetic alopecia in men and women (Beyond the Basics) – UpToDate